สถานที่ตั้ง
“บ้านแม่กำปอง” หมู่บ้านเล็กๆที่ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขา มีต้นเหมี้ยงขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมาหลายชั่วอายุคน ชาวบ้านมีอาชีพตั้งเดิมคือการเก็บใบเหมี้ยงจากป่าและนำมาหมักเพื่อส่งจำหน่าย สถานที่ตั้งของบ้านแม่กำปองอยู่ที่ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
จุดเด่น
ชาวบ้านในหมู่บ้านที่ยังคงอนุรักษ์ต้นเหมี้ยงและการทำเหมี้ยงแบบดั้งเดิม และมีหลายครัวเรือนที่ยึดเป็นอาชีพหลัก ในหมู่บ้านมีพิพิธภัณฑ์เหมี้ยงเพื่อให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ รวมทั้งมีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ให้บริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มีต้นเหมี้ยงในป่าและบ้านที่ทำการแปรรูปเหมี้ยง
พันธุ์เหมี้ยง
พันธุ์อัสสัม
วิธีเดินทาง
หมู่บ้านแม่กำปองตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่โดยผ่าน อ.สันกำแพง ระยะทาง 50 กิโลเมตร และห่างจากตัว อ.แม่ออน 20 กิโลเมตร และอีกเส้นทางหนึ่งผ่าน อ.ดอยสะเก็ด เลี้ยงขวาตรงสามแยกโป่งดิน ระยะทาง 51 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยางและเทคอนกรีต สามารถเดินทางไปมาได้ทุกฤดูกาล และสามารถเข้าถึงได้ทั้งโดยรถยนต์ รถโดยสารรับจ้าง และรถจักรยานยนต์
พิกัด
18.915278 , 98.901959

ทิศเหนือ:
ติดต่อกับบ้านแม่ลาย หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้
ติดต่อกับบ้านแม่รวม หมู่ที่ 1 ตำบลออนเหนือ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับบ้านธารทอง หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่

ธรรมชาติมากล้น

ผู้คนน้ำใจดี

มากมีดอกเอื้องดิน

สู่ถิ่นเมี่ยง ชา และกาแฟ

มียาแท้สมุนไพร

ชื่นฉ่ำใจน้ำตกเย็น

เห็นวิวทิวเขาสวย

ร่มรื่นด้วยสวนสนบนม่อนล้าน

หมู่บ้านแม่กำปองเป็นหมู่บ้านเล็กๆตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขาระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตรจากตัวเมืองเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูง มีภูมิประเทศที่สวยงาม มีภูเขาและลำธาร รวมทั้งน้ำตกอยู่ภายในหมู่บ้าน หมู่บ้านแม่กำปองมีพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ที่มีต้นชาหรือต้นเหมี้ยงประมาณ 2,000 ไร่ มีประชากรทั้งสิ้น 134 ครัวเรือน ชาวบ้านแม่กำปองมีทั้งส่วนที่อาศัยอยู่มาตั้งแต่ดั้งเดิมและเกือบทั้งหมดเป็นชาวอำเภอดอยสะเก็ดที่สมัยก่อนเข้ามารับจ้างเก็บเหมี้ยงและตัดสินใจตั้งรกรากที่หมู่บ้านแม่กำปองเป็นการถาวร มีครอบครัวที่เก็บใบเหมี้ยงขายและหมักเองประมาณ 30 ครัวเรือน และมีประมาณ 3 – 4 ครอบครัวในชุมชนที่รับซื้อเหมี้ยงหมักจากชาวบ้านแม่กำปองด้วยกันเองเพื่อนำไปจำหน่ายแก่พ่อค้าคนกลางภายนอกหมู่บ้าน ต้นชาหรือต้นเหมี้ยงในหมู่บ้านแม่กำปองตั้งแต่ดั้งเดิมนั้น มีสองพันธุ์ คือต้นชาพันธุ์พื้นเมือง ชาวบ้านเรียกว่า “เหมี้ยงอี่อ๋าม” หรือเหมี้ยงป่า มียอดสีออกแดง ใบมีรสขม ไม่เหมาะกับการนำมาแปรรูปเป็นเหมี้ยงหมัก ชาวบ้านมักตัดทิ้งเพราะไม่ได้ใช้ประโยชน์ ส่วนอีกพันธุ์คือต้นชาพันธุ์อัสสัม ชาวบ้านเล่าว่ามีขึ้นเองอยู่แล้วในพื้นที่ป่าตั้งแต่ชาวบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่แต่เดิมประมาณอย่างน้อยสามชั่วอายุคนหรือประมาณ 130 ปีก่อน ต่อมาเมื่อชาวบ้านยึดอาชีพการเก็บเหมี้ยงเป็นอาชีพ จึงมีการนำเมล็ดของต้นเดิมที่ขึ้นในป่านั้นมาเพาะเป็นต้นกล้าแล้วนำไปปลูกต่อ โดยไม่มีการนำชาหรือเหมี้ยงพันธุ์อื่นๆมาปลูกเพิ่มเติมแต่อย่างใด

พื้นที่ในป่าของหมู่บ้านแม่กำปองนั้น มีการจับจองตั้งแต่อดีตและเป็นที่รู้กันในหมู่ชาวบ้านว่าพื้นที่ไหนเป็นเขตพื้นที่ของใคร ชาวบ้านส่วนใหญ่จะเก็บใบเหมี้ยงในพื้นที่ของตนเองและถ้าพื้นที่ของตนเองอยู่ไกลเกินไปหรือใบเหมี้ยงในพื้นที่ของตนเองถูกเก็บเกี่ยวหมดไปแล้วอาจขออนุญาตเจ้าของพื้นที่อื่นเข้าไปเก็บได้ โดยชาวบ้านจะไม่หวงต้นเหมี้ยงกัน เนื่องจากบางคนแม้จะมีพื้นที่ที่มีต้นเหมี้ยงแต่ก็ทำอาชีพอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับเหมี้ยง ถ้ามีคนเข้าไปเก็บใบเหมี้ยงก็เสมือนการเข้าไปช่วยดูแลต้นไม้และพื้นที่ไม่ให้รกทึบจนเกินไปด้วย

ติดต่อสอบถาม


ผู้ประสานงาน: นายธีรเมศร์ ขจรพัฒนภิรมย์
ที่อยู่: หมู่ 3 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทร: 085 – 675 - 4598

ผู้ให้ข้อมูล


1. นายธีรเมศร์ ขจรพัฒนพิรมย์ (อดีตผู้ใหญ่บ้าน)
2. นายประดิษฐ์ ถมมา
3. นางนงลักษณ์ สมมุติ
4. นายดวง กิ่งแก้ว
5. นางรจนา นงค์ยา
6. นางเพชร ทิพย์มหาวรรณ
7. นายศักดิ์ ทิพย์มหาวรรณ
8. นางอรุณี ถมมา
9. นางพุธ ไชยพล
10. นายนิคม ไชยพล
11. นายวรรณ เจริญทรัพย์

1.) พื้นที่แม่กำปองมีต้นเหมี้ยงบนพื้นที่ประมาณกี่ไร่

    ก. 500 ไร่

    ข. 1,000 ไร่

    ค. 3,000 ไร่

    ง. 5,000 ไร่


2.) ชื่อพื้นเมืองของเหมี้ยงป่าที่ชาวแม่กำปองเรียกคือข้อใด

    ก. เหมี้ยงอี่อ๋าม

    ข. เหมี้ยงอ๊ออ๊อย

    ค. เหมี้ยงหัวปี๋

    ง. เหมี้ยงอี้ลี่ลี่


3.) “เหมี้ยงซ๊อย” คือใบเหมี้ยงที่เก็บในช่วงเวลาใด

    ก. เดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม

    ข. เดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนสิงหาคม

    ค. ปลายเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม

    ง. ตลอดทั้งปี


4.) “เหมี้ยงหัวปี๋” คืออะไร

    ก. ใบเหมี้ยงที่เก็บเกี่ยวในช่วงต้นปี

    ข. อาหารพื้นบ้านที่ทำจากใบเหมี้ยงและหัวปลีนำมายำรวมกัน

    ค. เป็นชื่อของการละเล่นพื้นบ้านในช่วงเทศกาลปีใหม่เมือง

    ง. เป็นเหมี้ยงพันธุ์หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ มีเฉพาะในพื้นที่แม่กำปองเท่านั้น


5.) ข้อใดกล่าว “ผิด” เกี่ยวกับ “เหมี้ยงเหมย”

    ก. เป็นดอกของต้นชา มีสีขาวและมีกลิ่นหอม

    ข. เป็นเหมี้ยงนอกฤดูซึ่งสามารถเก็บได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

    ค. “เหมย” เป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึง “น้ำค้าง” หรือ “หมอก”

    ง. ใบเหมี้ยงจะค่อนข้างเล็ก มีสีเขียวอมเหลือง


6.) “แจ้ก” คืออะไร

    ก. ถังไม้สำหรับหมักเหมี้ยงแบบโบราณ

    ข. ลังสำหรับนึ่งใบเหมี้ยง

    ค. เตาสำหรับนึ่งใบเหมี้ยง

    ง. ตะกร้าสะพายหลังที่ชาวบ้านใช้ใส่ใบเหมี้ยงตอนเก็บเกี่ยว


7.) กระบวนการหมักเหมี้ยงของชุมชนแม่กำปองใช้เวลาเท่าไร

    ก. ประมาณ 1 – 2 เดือน

    ข. ประมาณ 3 – 12 เดือน

    ค. ประมาณ 12 – 18 เดือน

    ง. 18 เดือน ขึ้นไป


8.) การหมักเหมี้ยงของชุมชนแม่กำปองใช้อะไรใส่ไปในถังหมัก

    ก. ใส่เฉพาะน้ำสะอาด

    ข. เกลือเม็ด

    ค. น้ำตาล

    ง. น้ำตาลและเกลือเม็ด


9.) ชุมชนแม่กำปองตั้งอยู่ที่ใด

    ก. อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

    ข. อำเภอเมืองออน จังหวัดเชียงใหม่

    ค. อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

    ง. อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

10.) “เหมี้ยงหวาน” คืออะไร

    ก. ใบบนสุดของยอดชา เมื่อนำมาหมักจะมีรสชาติหวานและราคาแพง

    ข. เหมี้ยงที่ใช้รับประทานกับน้ำเชื่อมใส่น้ำแข็ง

    ค. คอมบูฉะหรือน้ำชาเหมี้ยงที่มีรสชาติหวาน

    ง. เหมี้ยงเปรี้ยวปรุงรสด้วยน้ำเชื่อม มะพร้าวคั่ว ขิงอ่อน

คะแนน 0 / 10 คะแนน
COUNT : 1589